เมนู

ส่วนผู้ใดไม่สำคัญความหนาวเเละ
ความร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า กระทำกิจของบุรุษ
อยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุขดังนี้.
และว่า
เมื่อบุคคลรวบรวมโภคะทั้งหลายอยู่
เหมือนภมรผนวกอยู่ซึ่งรังฉะนั้น โภคะทั้ง
หลายย่อมถึงการสั่งสม ดุจจอมปลวก อัน
ตัวปลวกก่อขึ้นฉะนั้น
ดังนี้.
ด้วยพระคาถาแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 4 ประการนี้
คือ การบำรุงมารดา 1 การบำรุงบิดา 1 การสงเคราะห์บุตรและภรรยา 1
การงานทั้งหลายที่ไม่อากูล 1
อีกอย่างหนึ่ง คาถานี้มี 5 มงคลเพราะแยกการสงเคราะห์บุตรและ
ภรรยาออกเป็น 2. อีกอย่างหนึ่งมี 3 มงคล เพราะรวมการบำรุงมารดาบิดา
เป็นข้อเดียวเท่านั้น ก็ความที่แห่งมงคลเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบาย
ให้แจ่มแจ้งแล้วในมงคลนั้น ๆ นั่นแล.
จบการพรรณหาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า
มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ เป็นต้น

คาถาที่ 5

(มี 4 มงคล)
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคาถานี้ว่า ทานญฺจ ดังนี้ เป็นต้น
ดังต่อไปนี้.

ที่ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่าสิ่งของเป็นเครื่องให้. มีคำอธิบายว่า
สิ่งของของตนอันบุคคลย่อมมอบให้แก่ผู้อื่น.
การประพฤติธรรม หรือการประพฤติที่ไม่ไปปราศจากธรรม ชื่อว่า
ธรรมจริยา.
ชนทั้งหลายเหล่านี้ อันเราทั้งหลายย่อมรู้จัก เพราะเหตุนั้นชนทั้งหลาย
เหล่านี้ จึงชื่อว่า ญาติ.
การงานทั้งหลายที่มีโทษหามิได้ ชื่อว่า การงานไม่มีโทษ. มีคำ
อธิบายว่า การงานทั้งหลายที่บัณฑิตไม่ติเตียน คือไม่ครหา. คำที่เหลือมีนัย
อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล. นี้คือการพรรณนาเฉพาะบท. ส่วนการพรรณนา
เนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้.
เจตนาเป็นเครื่องบริจาคทานวัตถุ 10 อย่าง มีข้าวเป็นต้น ซึ่งมี
ความยินดีในเบื้องต้น เจาะจงผู้อื่น ชื่อว่า ทาน.
อีกอย่างหนึ่ง อโลภะ ที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้น ชื่อว่า ทาน. ด้วยว่า
บุคคลย่อมมอบให้ซึ่งวัตถุนั้นแก่บุคคลอื่น ด้วยอโลภะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ที่ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่าวัตถุเป็นเครื่องให้. ทานนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลวิเศษทั้งหลายอัน
เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ มีความเป็นที่รักของชนเป็นอันมากเป็นต้น.
ก็ในข้อนี้ พึงระลึกถึงพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนสีหะ ทายก
ที่เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักเป็นที่พอใจของชนเป็นอันมาก ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทานมี 2 อย่างคือ อามิสทาน และธรรมทาน
ในทาน 2 อย่างนั้น อามิสทาน มีประการอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.

การแสดงธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว อันเป็นที่สิ้น
ทุกข์และนำความสุขมาให้ ในโลกนี้และโลกหน้า เพราะปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูลแก่บุคคลเหล่าอื่น ชื่อว่า ธรรมทาน. ก็ในบรรดาทาน 2 อย่างนี้
ธรรมทานนี้เท่านั้นจัดว่าเป็นเลิศ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง ความยินดี
ในธรรม ย่อมชนะควานยินดีทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
ดังนี้.
ในทานทั้ง 2 อย่างนั้น ความที่อามิสทานเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้กล่าว
ไว้แล้วนั้นแล ส่วนธรรมทาน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งหลาย มีความเป็นผู้รู้
จักอรรถเป็นต้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นมงคล สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมดาตามที่ได้ฟังมา
ตามที่ได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร โดยประการใด ๆ บุคคลนั้นเป็นผู้รู้แจ้ง
ซึ่งอรรถ (รู้ผล) และเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งธรรม (รู้เหตุ) ในธรรมนั้น ๆ โดย
ประการนั้น ๆ ดังนี้เป็นต้น.
การประพฤติกุศลกรรมบถ 10 ชื่อว่า ธรรมจริยา. ดังนี้พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย การประพฤติธรรม คือ
การประพฤติสม่ำเสมอทางกายมี 3 อย่างแล ดังนี้เป็นต้น. ก็การประพฤติธรรม
นี้นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้อุบัติในโลกสวรรค์.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดี
ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งธรรมจริยาและสมจริยาแล สัตว์ทั้งหลายบางพวกใน
โลกนี้ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่การตายเพราะกายแตก ดังนี้.
ชนทั้งหลายผู้มีความเกี่ยวข้องกันทั้งทางฝ่ายมารดาหรือบิดา จนถึง
7 ชั่วโคตร ชื่อว่า ญาติ.
การสงเคราะห์ซึ่งญาติเหล่านั้น ผู้ซึ่งอันความเสื่อมโภคะหรือความ
เสื่อมเพราะความเจ็บป่วยครอบงำแล้วซึ่งมายังสำนักของตน ด้วยวัตถุทั้งหลาย
มีอาหาร เสื้อผ้า ทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้นตามกำลัง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษ มีการสรรเสริญ
เป็นต้น อันเป็นไปในปัจจุบัน และการบรรลุคุณวิเศษมีการไปสู่สวรรค์เป็นต้น
อันเป็นไปในสัมปรายภพ.
การงานทั้งหลาย มีการสมาทานศีลอุโบสถ การกระทำการขวนขวาย
การปลูกไม้ดอก ไม้ผลและต้นไม้ และการสร้างสะพานเป็นต้น ชื่อว่า การงาน
ที่ไม่มีโทษ. จริงอยู่การงานที่ไม่มีโทษเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุประโยชน์สุขนานัปการ ก็ในข้อนี้
พึงระลึกถึงสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนวิสาขา ข้อที่สตรีหรือบุรุษ
บางคนในโลกนี้ เข้าอยู่จำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์แปด เบื้องหน้าแต่การ
ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาทั้งหลายชั้นจาตุมมหา-
ราชิกา นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้แล ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 4 ประการคือ ทาน 1 ธรรมจริยา 1
การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย 1 การงานทั้งหลายที่ไม่มีโทษ 1 ด้วยพระคาถานี้
ดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าอธิบายไว้ชัดแล้ว ใน
มงคลนั้น ๆ นั่นแล.
จบการพรรณเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า
ทานญฺจ เป็นต้น

คาถาที่ 6

(มี 3 มงคล)
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถานี้ว่า อารตี วิรตี เป็นต้น
ดังต่อไปนี้.
การงด ชื่อว่า อารตี. การเว้น ชื่อว่า วิรตี.
อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมเว้น (จากบาป) ด้วยเจตนานี้
เหตุนั้น เจตนานี้ ชื่อว่า วิรัติ. (ที่ชื่อว่า วิรัติ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็น
เครื่องงดเว้นแห่งสัตว์ทั้งหลาย หรือเป็นเครื่องให้สัตว์ทั้งหลายงดเว้น).
บทว่า ปาปา ได้แก่ จากอกุศล.
ที่ชื่อว่า มชฺชํ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา การดื่มซึ่งมัชชะ
(น้ำเมา) ชื่อว่า มชฺชปานํ. (เว้น ) จากการดื่มน้ำเมานั้น. การสำรวมชื่อว่า
สํยโม. ความไม่ประมาทชื่อว่า อปฺปมาโท. บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ใน
กุศลธรรมทั้งหลาย. คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วแล. นี้คือการพรรณนา
เฉพาะบท. ส่วนการพรรณนาเนื้อความ พึงทราบดังต่อไปนี้.
การไม่ยินดีของบุคคลผู้มีปกติเห็นโทษในบาป ด้วยใจนั้นแล ชื่อว่า
การงด. การเว้นด้วยกายและด้วยวาจา ด้วยสามารถแห่งกรรมและทวาร ชื่อว่า
วิรัติ.